Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/95
Title:  A Policy Proposal of Inclusive Education In Elementary Schools : A case study  of Uttaradit Province
ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในโรงเรียนประถมศึกษา กรณีศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์
Authors: Picharaporn Meepin
พิชราพร มีปิ่น
Rapin Posrie
ระพินทร์ โพธิ์ศรี
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: ข้อเสนอเชิงนโยบาย
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
โครงสร้างซีท
Policy Proposal
Inclusive Education
SEAT Framework
Issue Date:  31
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to study the current condition, problems and causes of inclusive education based on the SEAT framework, as well as the attitudes of those involved in the children with total learning needs in elementary schools; to investigate factors affecting an effective implementation of inclusive education management policy based on the SEAT framework; and to propose a policy on inclusive education management in elementary schools, using a mixed methods research design. The population was 57,880 school administrators, teachers, parents, and students from inclusive education schools under Uttaradit primary educational service area. The study sample consisted of 994 participants from 132 schools through a purposive sampling technique. The research instruments were a survey, a questionnaire, a structured interview, an attitude test, a focus group discussion, document synthesis, and an expert-led seminar. The quantitative data was analyzed using percentage, mean, standard deviation, ANOVA, and the Chi–square test, whereas the qualitative data was analyzed using content analysis and triangulation. The results showed that overall, the current condition of inclusive education management based on the SEAT framework in elementary schools: a case study of Uttaradit province was at the highest level. Listed in descending order, problems in inclusive education management based on the SEAT framework included tools, learning and teaching activities, environment, and students. Overall, the attitudes of those involved in the children with total learning needs were at a high level. The results also indicated that the factors affecting an effective implementation of inclusive education management policy based on the SEAT framework were as follows: students – comprehension of screening processes and capability building for persons with disabilities; environment – providing a safe and conductive physical learning environment for schools, disseminating knowledge of disability care and publicizing the works of disabled people; teaching and learning – knowledge of creating and implementing learning management plans, encouraging school support teams, networking with all sectors and promoting academic forums; and tools – monitoring the implementation of the inclusive education management policy, budget allocation, media and equipment allocation, and teacher development in media production for disabled people. As a case study of Uttaradit province, an inclusive education management policy proposal in elementary schools comprised two components: policy drives and related agency levels. Human resource development, budget and resource support, and management procedures were three policy drives. The school, the primary educational service area, and the office of the basic education commission were all related agency levels.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและสาเหตุของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท และเจตคติของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อเด็กพิการเรียนรวมในโรงเรียนประถมศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีทไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและเพื่อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในโรงเรียนประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนในโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 57,880 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียน 132 โรงเรียน จำนวนรวม 994 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง แบบวัดเจตคติ แบบสนทนากลุ่ม การสังเคราะห์เอกสารและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบไค- สแควร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์สามเส้า ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีทในโรงเรียนประถมศึกษา กรณีศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีทเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านเครื่องมือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อม และด้านนักเรียน เจตคติของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อเด็กพิการเรียนรวมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมตามโครงสร้างซีท ไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ด้านนักเรียน ได้แก่ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการคัดกรองคนพิการและการพัฒนาศักยภาพคนพิการ ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนให้ปลอดภัยและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการดูแลช่วยเหลือคนพิการและการประชาสัมพันธ์ผลงานของคนพิการ  ด้านการเรียนการสอน ได้แก่ องค์ความรู้ด้านการจัดทำและการใช้แผนจัดการเรียนรู้ การสนับสนุนทีมงานดูแลช่วยเหลือโรงเรียน การสร้างเครือข่ายกับทุกภาคส่วนและการส่งเสริมให้มีเวทีวิชาการ และด้านเครื่องมือ ได้แก่ การกำกับติดตามการนำนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสู่การปฏิบัติ การจัดสรรงบประมาณ การจัดสรรสื่อ อุปกรณ์และการพัฒนาครูด้านการผลิตสื่อสำหรับคนพิการ ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในโรงเรียนประถมศึกษา กรณีศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีองค์ประกอบ คือ แนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านงบประมาณและการสนับสนุนทรัพยากร และด้านกระบวนการจัดการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับโรงเรียน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Description: Doctor of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/95
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58571150111.pdf12.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.