Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/71
Title: THE DIFFERENTIATION STRATEGY EFFECTING THE COMPETITIVE ADVANTAGE OF SMALL AND MEDIUM ENTERPRISESIN UTTARADIT PROVINCE 
กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดอุตรดิตถ์
Authors: Sirorut Yenthatha
ศิโรรัตน์ เย็นธะทา
Irawat Chomraka
อิราวัฒน์ ชมระกา
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Management Science
Keywords: กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง
ความได้เปรียบทางการแข่งขัน
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Differentiation Strategy
Competitive Advantage
Small and Medium Enterprises.
Issue Date:  6
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to study the importance level of differentiation strategy and competitive advantage of small and medium enterprises in Uttaradit Province and to explore relationship between differentiation strategy and competitive advantage of small and medium enterprises. The population of this research was 1,136 small and medium enterprises in Uttaradit Province. The sample selected by stratified sampling method was 355 small and medium enterprises. The instruments used was a questionnaire. The frequency, percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis were the parameters used for statistical analysis. The results revealed that the importance level of differentiation strategy of small and medium enterprises in Uttaradit Province was overall at a high level (mean=4.05). When considering each aspect, every aspect was at a high level with personnel ranked at the highest, followed by service and image respectively. Moreover, the importance level of competitive advantage of small and medium enterprises in Uttaradit Province was at a high level (mean=4.21), and overall aspects were also ranked at a high level. When considering each aspect, efficiency was ranked at the highest, followed by responsiveness and innovation respectively.  Hypothesis testing of differentiation strategy in product, service, personnel, channel and image impacted competitive advantage of small and medium enterprises in Uttaradit Province significantly at the 0.05 level. The prediction from all 5 independent variables on competitive advantage of small and medium enterprises in Uttaradit Province was 55.30 %, while the other 44.70 % was impacted by other factors (R2 = 0.553), and was ranked by multiple regression from the highest to the lowest personnel, product and service respectively.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 1,136 ราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 355 ราย ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระดับความสำคัญของกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านบริการ และด้านภาพลักษณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ระดับความสำคัญของความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการตอบสนองลูกค้า และด้านนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบริการ  ด้านบุคลากร ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และ ด้านภาพลักษณ์ ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรต้นทั้งหมด 5 ตัว สามารถพยากรณ์ความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ร้อยละ 55.30 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 44.70 เกิดจากปัจจัยอื่น (R2 = 0.553) โดยเรียงลำดับจาก ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ ด้านที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านบริการ ตามลำดับ
Description: Master of Business Administration Program
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/71
Appears in Collections:Faculty of Management Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58554490101.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.