Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/67
Title: Quality Management Guidelines for Early ChildhoodEducation in Thapla Phaya Jarim Network underUttaradit Primary Education Service Area Office 2
แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของกลุ่มเครือข่ายท่าปลาพญาจริมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 
Authors: Atijid Boonmee
อติจิต บุญมี
Yokkaew Kamolvoradej
หยกแก้ว กมลวรเดช
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: แนวทางการบริหารจัดการ
คุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย
กลุ่มเครือข่ายท่าปลาพญาจริม
Management Guidelines
Quality of Early Childhood Education
Thapla Phaya Jarim Network
Issue Date:  22
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to explore the circumstances and problems of quality management of early childhood educational and to develop quality management guidelines for early childhood education in Thapla Phaya Jarim Network under Uttaradit Primary Education Service Area Office 2. The population of this research was 9 school administrators and 21 early childhood teachers, 30 people in total, in Thapla Phaya Jarim Network in 2019 academic year. The instruments used were a questionnaire, an interview, and a focus group discussion record form. The percentage, mean, standard deviation and content analysis were the parameters used for statistical analysis. The results revealed that the good circumstances of the quality management of early childhood education in Thapla Phaya Jarim Network under Uttaradit Primary Education Service Area Office 2, overall was at a high level, while the problems of the quality management of early childhood education were at the lowest level. The guidelines for quality management of early childhood education in Thapla Phaya Jarim Network under Uttaradit Primary Education Service Area Office 2 included 3 aspects as follows. Quality of Children : children should be allowed to do what they are interested in, with appropriate guidance from teachers, to develop cognitive skills. Management Process: school administrators should discuss, plan, and assign teachers to classes appropriately as well as encourage all parties to work in the same directions so that they can build on what they have learned. Child Centered Learning Experience: administrators should supervise and monitor the use of media and technology that focus on children; In addition, school administrators should implement PDCA management method to encourage school personnel to participate in their work and discuss with relevant people in developing the 4 areas of child development.
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหาของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย และหาแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของกลุ่มท่าปลาพญาจริม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 9 คน และครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 21 คน ในกลุ่มเครือข่ายท่าปลาพญาจริม ในปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของกลุ่มเครือข่ายท่าปลาพญาจริม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 โดยภาพรวมพบว่า มีสภาพการดำเนินงานที่ดีอยู่ในระดับมาก และมีปัญหาการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยอยู่ในระดับน้อยที่สุด และแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัยของกลุ่มเครือข่ายท่าปลาพญาจริม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ทั้ง 3 ด้าน มีดังนี้ ด้านคุณภาพของเด็ก ได้แก่ ในด้านสติปัญญา ควรฝึกให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง และทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยมีครูคอยชี้แนะนำแนวทางตามความเหมาะสม ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการประชุมปรึกษาหารือ การวางแผนงานในระบบ จัดบุคลากรลงในชั้นเรียนให้อย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้ทุกฝ่ายได้มีบทบาทในการบริหารการจัดการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แล้วสามารถนำไปต่อยอดได้ และด้านการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ได้แก่ ควรมีการนิเทศ ติดตาม การใช้สื่อ และเทคโนโลยี ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ผู้บริหารโรงเรียนควรนำหลักการบริหารงานตามวงจรคุณภาพ PDCA ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนทำงานแบบมีส่วนร่วม และร่วมประชุมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความเข้าใจตรงกันในด้านการจัดประสบการณ์ให้ตรงตามพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/67
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62551140125.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.