Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/63
Title: Guidelines on School Dropout Risk Prevention of Students A Case Study: Uttaradit Technical College
แนวทางการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง กรณีศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์
Authors: Thunpitcha Toumtab
ธัญญ์พิชชา ท้วมทับ
Yokkaew Kamolvoradej
หยกแก้ว กมลวรเดช
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: สาเหตุการออกกลางคัน
แนวทางการป้องกัน
นักศึกษากลุ่มเสี่ยง
Dropout Cause
Prevention Guidelines
Students at Risk
Issue Date:  22
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to explore dropout causes, draw up guidelines on school dropout risk prevention of students of Uttaradit Technical College, and examine the appropriateness of the guidelines. The population of this research was 540 college administrators, heads of educational guidance, heads of programs, heads of advisory teachers, advisory teachers, teachers, parents, students, and students at risk of dropping out in Uttaradit Technical College. The sample was divided into 3 groups. The first group selected by purposive sampling method included 272 people who were used to find dropout causes. The instrument used for the first group was a questionnaire. The second group selected by purposive sampling method included 13 people who were used to develop guidelines. The instruments used for the second group were an in-depth interview and content analysis. The last group selected by purposive sampling method was 70 people who were used to evaluate appropriateness of the guidelines. The instrument used for the third group was a questionnaire. The percentage, mean, standard deviation and content analysis were the parameters used for statistical analysis. The results revealed that the dropout causes of students at risk included 6 factors as follows. Student factor: students had insufficient class attendance and activity participation; eventually, they were considered not eligible for exams. Family factor: students’ family had low income, thus students had to drop out to help their family earn a living. School factor: the college rules and regulations were too strict. Advisory teacher and teacher factor: advisory teachers and teachers provided limited time for advising students and follow-ups. Community and environment factor: the college was surrounded by businesses that tempted students to do the wrong thing. Teaching and learning/program factor: the programs could not provide sufficient machine tools for students to practice. With regard to the guidelines on school dropout risk prevention of students of Uttaradit Technical College in accordance with those 6 factors, it was found as follows. Student factor – advisory teachers and teachers have to closely monitor students’ attendance and academic results and inform parents immediately as soon as problems occur.  Advisory teacher and teacher factor – a Line group should be created for students and parents to exchange information and to assist students. Teaching and learning/program factor – teachers should be encouraged to develop learning innovation or materials. School factor – all parties should be aware of college rules and regulations. Family factor – advisory teachers should monitor students at risk closely and provide scholarships for needy students whose parents do not take care of them or who do not live with their parents. Community and environment factor – a policy to check and control businesses around college area where students should not go needs to be implemented. In addition, the level of the appropriateness of the guidelines overall was at the highest level. 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุการออกกลางคัน หาแนวทางการป้องกัน และตรวจสอบความเหมาะสมของแนวทางการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานแนะแนวการศึกษา หัวหน้างานหลักสูตร หัวหน้างานครูที่ปรึกษา ครูที่ปรึกษา ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียน นักศึกษากลุ่มเสี่ยง วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ จำนวน 540 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มที่ 1 จำนวน 272 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ในการหาสาเหตุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มที่ 2 จำนวน 13 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ในการหาแนวทาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มที่ 3 จำนวน 70 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ในการตรวจสอบความเหมาะสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง มี 6 ด้าน ดังนี้ ด้านตัวนักศึกษาพบว่า นักศึกษาขาดการเข้าร่วมกิจกรรมและขาดเรียนมากจนหมดสิทธิ์สอบ ด้านครอบครัวพบว่า รายได้ของครอบครัวไม่เพียงพอ นักศึกษาต้องช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพ ด้านสถานศึกษาพบว่า กฎ ระเบียบข้อบังคับของวิทยาลัยเคร่งครัดเกินไป ด้านครูที่ปรึกษา ครูผู้สอนพบว่า การติดตามช่วยเหลือให้คำปรึกษานักศึกษามีน้อยไป ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อมพบว่า มีแหล่งมั่วสุม แหล่งอบายมุขอยู่ใกล้สถานศึกษาทำให้ง่ายต่อการกระทำผิด และด้านการเรียนการสอน หลักสูตรพบว่า สาขาวิชามีเครื่องมือเครื่องจักรสำหรับฝึกทักษะช่างไม่เพียงพอ สำหรับแนวทางการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยงทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านตัวนักศึกษา ให้ครูที่ปรึกษา ครูผู้สอนคอยติดตามผลการเรียน การขาดเรียนนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอและแจ้งกับผู้ปกครองทราบทันที  2. ด้านครูที่ปรึกษา ครูผู้สอน ควรจัดทำกลุ่มไลน์นักศึกษาและผู้ปกครองสำหรับแลกเปลี่ยนข่าวสารและติดตามดูแลผู้เรียนร่วมกัน 3. ด้านการเรียนการสอน หลักสูตร ควรส่งเสริมให้การสนับสนุนครูผู้สอนจัดสร้างนวัตกรรมหรือสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน 4. ด้านสถานศึกษา ควรสร้างความตระหนักเกี่ยวกับกฎ ระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษาร่วมกัน  5. ด้านครอบครัว ควรจัดครูที่ปรึกษาให้คอยติดตามดูแลนักศึกษากลุ่มเสี่ยงอย่างใกล้ชิด และควรจัดหาทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ไม่มีผู้ปกครองดูแลหรือไม่ได้อยู่กับบิดามารดา 6. ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม ควรกำหนดนโยบายการตรวจแหล่งมั่วสุม และควรมีมาตรการควบคุมดูแลแหล่งอบายมุขบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาอย่างจริงจัง และตรวจสอบความเหมาะสมของแนวทางการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยง โดยภาพรวมทั้ง 6 ด้าน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/63
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62551140118.pdf6.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.