Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/62
Title: Guidelines for managing district service units:A Case Study of Nan Special Education Center
แนวทางการบริหารจัดการหน่วยบริการประจำอำเภอกรณีศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน
Authors: Ekarach Sutem
เอกราช สุเต็ม
Yokkaew Kamolvoradej
หยกแก้ว กมลวรเดช
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: หน่วยบริการประจำอำเภอ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ
District Service Unit
Special Education Center
Issue Date:  22
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to explore problem s and seek guidelines for managing District Service Unit of Nan Special Education Center. The research was conducted in qualitative research method. The target group was divided into 2 groups. The first group included 18 administrators of District Service Unit of Nan Special Education Center, teachers, personnel, and students’ parents. The instruments used for the first group were a structured interview and content analysis. The second group was 7 administrators of District Service Unit of Nan Special Education Center. The instruments used for the second group were an in-depth interview and content analysis.  The results revealed that the problems of the 4 aspects of management were as follows. 1. Academic management: personnel lacked experience in special education; and teaching materials and office supplies were insufficient. 2. Plan and budget management: personnel lacked knowledge in accounting and project writing. 3. General management: environment did not facilitate teaching disabled students, and mechanic equipment was insufficient. 4. Personnel management: there was lack of personnel who can perform physical therapy; group leaders lacked working experience; there were inadequate numbers of personnel to assist students in the service unit; and personnel performed tasks that were not relevant to their expertise. Regarding the guidelines for managing District Service Unit of Nan Special Education Center, the following was found. Firstly, Community Service Sector should create IEP plan together with parents to know their needs and to provide them with proper materials. Secondly, District Service Unit should provide trainings on special education for personnel, parents and disabled caretakers. Thirdly, Planning and Budget Group should set clear roles, provide trainings on planning, and budget for personnel to increase skills in supervision and advice. Fourthly, General Management Group should cooperate with other government sectors, private sectors and community to improve district service units, crate a work manual and provide trainings on clerical skills for personnel. Lastly, Personnel Management Group should plan teacher positions, provide trainings on special education for personnel and monitor them regularly. 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการหน่วยบริการประจำอำเภอ สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มเป้าหมายที่1. ได้แก่ กลุ่มบริหารหน่วยบริการประจำอำเภอ สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน ครูและบุคลากร และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งหมด 18 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กลุ่มเป้าหมายที่2. ได้แก่ กลุ่มบริหาร ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน จำนวน 7 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาในการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้าน มีดังนี้ 1. ด้านบริหารวิชาการบุคลากรขาดประสบการณ์ด้านการศึกษาพิเศษ สื่อการเรียนการสอนยังไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนและวัสดุสำนักงานไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 2. ด้านบริหารแผนงานและงบประมาณ บุคลากรขาดความรู้ด้านบัญชี และขาดความเข้าใจในการเขียนโครงการ 3. ด้านบริหารทั่วไป สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และขาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านงานช่าง 4. ด้านบริหารงานบุคคล ขาดบุคลากรทางด้านกายภาพบำบัด  หัวหน้ากลุ่มงานขาดประสบการณ์ในการทำงาน บุคลากรไม่เพียงพอต่อการดูแลนักเรียนในหน่วยบริการ และบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ไม่ตรงสายงาน สำหรับแนวทางการบริหารจัดการหน่วยบริการประจำอำเภอ สังกัดศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน พบว่ากลุ่มบริการวิชาการควรมีการจัดทำแผน IEP ร่วมกับผู้ปกครองเพื่อทราบถึงความต้องการและจัดสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม ฝึกอบรมบุคลากร ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้พิการให้เกิดองค์ความรู้ด้านการศึกษาพิเศษ กลุ่มบริหารแผนงานและงบประมาณ กำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน อบรมพัฒนาบุคลากร ด้านแผนงานและงบประมาณให้เกิดองค์ความรู้นำไปสู่ทักษะในการปฏิบัติงาน และนิเทศติดตามให้คำแนะนำกลุ่มบริหารทั่วไป ประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ภาคเอกชน ชุมชน เพื่อร่วมพัฒนาหน่วยบริการประจำอำเภอ จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน สร้างองค์ความรู้ด้านงานธุรการ กลุ่มบริการงานบุคคล วางแผนอัตรากำลังของครู จัดอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านการศึกษาพิเศษ นิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง  
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/62
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62551140115.pdf9.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.