Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/149
Title: Motivation Affecting Work Efficiency of Support Personnel at Uttaradit Rajabhat University
แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Authors: Putcharee Puntangthai
พัชรี พันธุ์แตงไทย
Irawat Chomraka
อิราวัฒน์ ชมระกา
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Management Science
Keywords: แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, บุคลากรสายสนับสนุน
Motivation Work Efficiency Support Personnel
Issue Date:  31
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The study aimed to investigate work motivation, efficiency, and motivation factors affecting the work efficiency of support personnel at Uttaradit Rajabhat University. The population was 484 support personel at Uttaradit Rajabhat University. The sample selected by stratified sampling was 219 respondents. The instrument used in this study was a questionnaire. The statistical devices employed for data analysis were frequency, percentage, standard deviation, and multiple regression analysis. The results revealed that work motivation was at a high level in all dimensions, with job success ranked at the highest level, followed by social relationship needs and the nature of the work performed. Regarding work efficiency, it was at a high level in all dimensions, with quality of work ranked at the highest level, followed by cost and time. With regard to motivation factors affecting work efficiency, it was discovered that motivation in job sussess, acceptability, management policy, and work environment affected the work efficiency at the 0.05 level of significance.  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ประชากร คือ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 484 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 219 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยด้านความสำเร็จของงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความต้องการด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานพบว่าอยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยด้านคุณภาพงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านค่าใช้จ่าย และด้านเวลา สำหรับปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานพบว่าแรงจูงใจด้านความสำเร็จของงาน ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านนโยบายการบริหาร และด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: Master of Business Administration Program
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/149
Appears in Collections:Faculty of Management Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61553490204.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.