Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/131
Title: A Development of local Curriculum on Performing Arts of Mangkla Dance for Junior high school students, Municipal School Muang District, Uttaradit Province.
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องรำมังคละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์จังหวัดอุตรดิตถ์  
Authors: Kanijtimon Limpanarom
กณิจฐิมญศ์ ลิมปนารมณ์
Nitaya Suwanasri
นิตยา สุวรรณศรี
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: รำมังคละ
หลักสูตรท้องถิ่น
การพัฒนาหลักสูตร
Curriculum development
local Curriculum
Mangkla Dance
Issue Date:  8
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to develop a local curriculum of Mangkla Dance, investigate the results of curriculum implementation, and study student satisfaction of the curriculum for lower secondary school students in Muang district municipal schools in Uttaradit province. The population were 1,098 students from Wad Thay Talad Municipal School, Tha It Municipal School, and Nong Pha Municipal School in Uttaradit province. The study sample selected through a cluster random sampling technique included a classroom of 43 students from Nong Pha Municipal School who were enrolled in the second semester of 2018 academic year. The research instruments were a local curriculum of Mangkla Dance, a learning management plan, a test, a performance evaluation form, a desirable characteristics evaluation form, and a questionnaire. The statistical devices employed for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.   The results showed that the local curriculum of Mangkla Dance for lower secondary school students in Muang district municipal schools in Uttaradit province. For the content of the curriculum, there were 3 learning units: Unit 1 History of Mangkla Dance, Unit 2 Components of Mangkla Dance, and Unit 3 Excellent Thai Dancing. For designing learning activities using dance learning management and organizing proactive learning activities, there were 4 lesson plans of 8 hours. The results of the suitability evaluation of the curriculum were at a high level. Students’ average knowledge of Mangkla Dance after learning was higher than that of before learning at the 0.01 level of significance, with an average performance score of 98.62 percent and an average desirable characteristics score of 97.21 percent, both of which were higher than the specified requirement of 80 percent. The students also had the highest level of satisfaction of the curriculum.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องรำมังคละ ศึกษาผลการใช้หลักสูตร และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หลักสูตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จาก 3 โรงเรียน คือโรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ และโรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา จำนวน 1,098 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 43 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องรำมังคละ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องรำมังคละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเนื้อหาของหลักสูตรแบ่งเป็น 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่  หน่วยที่ 1 ความเป็นมาควรศึกษา  หน่วยที่ 2 องค์ประกอบนำพาช่างสร้างสรรค์ และหน่วยที่ 3 ลีลาเลิศล้ำงามอย่างไทย ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแนวการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์และวิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 4 แผน ใช้เวลาเรียน 8 ชั่วโมง ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทักษะปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 98.62 และคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.21 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/131
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60551101203.pdf9.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.