Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/120
Title: Policy Proposals for the Administration of Quality Schools in Tambon Thapla District, Uttaradit Province under the Office of Uttaradit Primary Educational Service Area 2
ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล​ อำเภอท่าปลา​ จังหวัดอุตรดิตถ์​ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ​2
Authors: Charin Koedphum
ชรินทร์ เกิดพุ่ม
Phimphaka Thammasit
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: ข้อเสนอเชิงนโยบาย
การบริหารโรงเรียน
โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
Policy Proposal
School Administration
Sub-district Quality Schools
Issue Date:  31
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The research aimed to study the problems and to develop policy proposals for administrating sub-district quality schools in Thapla District, Uttaradit Province under the Office of Uttaradit Primary Educational Service Area 2. The target group of 28 people used for studying the problems included the school administrator, the chairperson of school board, the academic department head teacher, and a parent representative from each of the 7 sub-district quality schools. In addition, the target group of 6 people involved in developing policy proposals comprised of the director of Uttaradit Primary Educational Service Area Office 2, 3 Uttaradit provincial school supervisors, the chairperson of the sub-district quality schools of Uttaradit Provincial Primary Educational Service Area Office 1 and 2 who were obtained by the purposive sampling method. The research tools were a meeting recording form and an interview form. The data was analyzed using content analysis.            The results showed the problems in different aspects as follows. Infrastructure aspect: school buildings were inadequate and decrepit; there was no shuttle service for students; the schools’ streetlights and electrical systems were insufficient and needed repairs;  there was no solar panel installation; the water supply in the village was intermittent, defective groundwater system as well as shortages of drinking water out of the rainy season; they lacked drinking water filtration equipment; and the internet signal was unstable while the computers were not ready and not enough to use. Education promotion aspect: there was a shortage of Chinese Language teachers, a lack of learning materials to support STEM education, budget deficiency for purchasing materials and equipment, a lack of teaching tools for extra professional skills teaching; materials and equipment for students' practices were insufficient; the school made a website but did not use it, and the personnel in charge still lacked knowledge in managing the school information system. Networking and participation aspect: the schools lacked coordination with the provincial primary education office to improve the schools’ quality.           The results of the development of policy proposals involved policy objectives and practical guideline recommendations. Infrastructure aspect proposal: to establish a budget in annual action plan for student development activities. Education promotion aspect proposal: to survey career skills that matched the students' needs and interests. Networking and participation aspect proposal: to enhance collaborations with parents and communities to improve students’ qualities.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาสภาพปัญหา ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 1 คน ประธานกรรมการสถานศึกษา 1 คน ครูหัวหน้าวิชาการ 1 คน และตัวแทนผู้ปกครอง 1 คน จากโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 7 โรงเรียน รวม 28 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้แก่ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์จังหวัดอุตรดิตถ์ 3 คน ประธานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 และ 2 รวม 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการประชุม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาสภาพปัญหาพบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาคารเรียนไม่เพียงพอ มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ไม่มีรถบริการรับ-ส่งนักเรียน และไฟถนนส่องสว่าง ระบบไฟฟ้าภายในอาคารชำรุด ไม่ได้รับการสนับสนุน การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ น้ำประปาหมู่บ้านไหลไม่สม่ำเสมอ ระบบน้ำบาดาลชำรุด ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง ขาดอุปกรณ์กรองน้ำดื่ม ระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร คอมพิวเตอร์ไม่พร้อมและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่วนด้านการส่งเสริมการศึกษา ขาดแคลนครูภาษาจีน ขาดอุปกรณ์จัดการเรียนรู้ในรูปแบบของสะเต็มศึกษา ไม่ได้รับงบประมาณจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ขาดเครื่องมือสอนทักษะอาชีพเพิ่มเติม วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอในการปฏิบัติของนักเรียน โรงเรียนจัดทำเว็บไซต์ แต่ขาดการนำไปใช้ และบุคลากรผู้รับผิดชอบยังขาดความรู้ในการจัดการระบบสารสนเทศของโรงเรียน และด้านการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ขาดการประสานงานกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน ผลการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของนโยบายและเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติ ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน จัดตั้งงบประมาณในแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนานักเรียน ด้านการส่งเสริมการศึกษา มีการสำรวจทักษะอาชีพที่สอดคล้องต่อความต้องการและความสนใจของนักเรียน และ ด้านการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม มีการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/120
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63551140203.pdf5.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.