Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/109
Title: Factors Affecting the Excellence of Academic Administrationin Small Schools, Uttaradit province
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์
Authors: Chutikan Luangsaen
ชุติกาญจน์ หลวงแสน
Yokkaew Kamolvoradej
หยกแก้ว กมลวรเดช
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: การบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนขนาดเล็ก
Academic Administration
Small schools
Issue Date:  8
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The objectives of the study were to examine the level of factors of excellence in academic administration of small-sized schools in Uttaradit Province, and to determine the factors affecting excellence in academic administration of the schools. Phase 1 involved interviews with 8 school directors and teachers in charge of academic affairs, who were selected from small schools succeeding in academic administration through the purposive sampling method. In Phase 2, the population was composed of 429 school administrators, teachers in academic affairs and teachers from 143 small-sized schools in Uttaradit. The sample, selected through the stratified random sampling method, was 324 respondents. The research instrument was a questionnaire. The statistical devices used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Multiple Regression Analysis and content analysis. The results showed that the level of factors of excellence in academic administration was at a high level. Of all the factors, the Teachers and Educational Personnel was rated highest in mean scores, whereas the Educational Media and Technology was rated lowest. The Excellence in Academic Administration was at a high level. It was found that the factors affecting excellence in academic administration in the schools consisted of 4 factors: Educational Media and Technology (β=0.362), Parents and Community (β=0.200), Teachers and Educational Personnel (β=0.181), and Budget (β=0.179), which significantly affected the academic administration of the schools at a statistical level of 0.05, and accounted for 77.20 percent of covariance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ ระยะที่หนึ่ง สัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบฝ่ายวิชาการ จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัย ระยะที่สอง ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนจากโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ 143 แห่ง จำนวน 429 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ปัจจัยด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ปัจจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (β=0.362) ด้านผู้ปกครองและชุมชน (β=0.200) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา (β=0.181) และด้านงบประมาณ (β=0.179) ซึ่งส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมได้ร้อยละ 77.20
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/109
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63551140107.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.