Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/94
Title: The Construction of Teacher's Spiritual Measurement for Students in Faculty of Education, Uttaradit Rajabhat University By Using the Semantic Differential
การสร้างแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครูสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยใช้มาตรวัดเจตคติแบบนัยจำแนก
Authors: Parinya Banyat
ปริญญา บัญญัติ
Manee Sanghirun
มานี แสงหิรัญ
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: การสร้างแบบวัด จิตวิญญาณความเป็นครู มาตรวัดเจตคติแบบนัยจำแนก
Scale Construction Teacher Spirituality Semantic Differential Scale
Issue Date:  31
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to construct the teacher spirituality scale for students of the Faculty of Education, Uttaradit Rajabhat University using the semantic differential scale; to test the conformity of the teacher spirituality scale with the empirical data; and to interpret the teacher spirituality scores for students of the Faculty of Education. The population was 3,224 undergraduate students of the Faculty of Education, Uttaradit Rajabhat University. The study sample, selected through a multistage sampling technique, consisted of 450 undergraduate students who enrolled in the second semester of the 2020 academic year. The research instrument was the teacher spirituality scale using the semantic differential scale. The data were analyzed using discrimination power, reliability, confirmatory factor, and score interpretation by converting raw scores into the nine standard scores. The results showed that the teacher spirituality scale for students of the Faculty of Education, Uttaradit Rajabhat University, using the semantic differential scale, consisted of 7 main elements, 20 sub-elements, and 79 indicators. They were classified into the following components: bond between teachers and students with two sub-elements and eight indicators; love and faith in the profession with two sub-elements and ten indicators; psychology in teaching with three sub-elements and thirteen indicators; being a role model with three sub-elements and twelve indicators; morality and ethics with four sub-elements and thirteen indicators; role and duty fulfillment with three sub-elements and eleven indicators; and good relationship and friendship with three sub-elements and twelve indicators. With regard to the conformity of the teacher spirituality scale using the semantic differential scale, it was found to be consistent with the empirical data. The weight of each element's indicator was greater than 0.30 and statistically significant at 0.05 for all indicators. Regarding score interpretation of the teacher spirituality scale for students of the Faculty of Education, using normal criteria of the teacher spirituality scale based on the nine standard scores, it was found that two majors of students have  very high teacher spirituality  with scores ranging from 6.50 to 6.80; fifteen majors of students have high teacher spirituality with scores ranging from 5.95 to 6.49; and three majors of students have relatively high teacher spirituality with scores ranging from 5.15 to 5.94.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครูสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยใช้มาตรวัดเจตคติแบบนัยจำแนก เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดจิตวิญญาณความเป็นครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อแปลผลคะแนนจิตวิญญาณความเป็นครูสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ กลุ่มประชากร ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 3,224 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 450 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู โดยใช้มาตรวัดเจตคติแบบนัยจำแนก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการแปลผลคะแนนโดยการแปลงคะแนนดิบให้อยู่ในรูปของคะแนนมาตรฐานเก้า ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครูสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยใช้มาตรวัดเจตคติแบบนัยจำแนก ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย 79 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น ความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ มี 2 องค์ประกอบย่อย 8 ตัวบ่งชี้ ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ มี 2 องค์ประกอบย่อย 10 ตัวบ่งชี้  การมีจิตวิทยาในการสอน มี 3 องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้ การเป็นแบบอย่างที่ดี มี 3 องค์ประกอบย่อย 12 ตัวบ่งชี้ การมีคุณธรรมและจริยธรรม มี 4 องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้ การปฏิบัติตามบทบาท หน้าที่ มี 3 องค์ประกอบย่อย 11 ตัวบ่งชี้ และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีความเป็นกัลยาณมิตรมี 3 องค์ประกอบย่อย 12 ตัวบ่งชี้ สำหรับการทดสอบความสอดคล้องโมเดลการวัดจิตวิญญาณความเป็นครู โดยใช้มาตรวัดเจตคติแบบนัยจำแนกพบว่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบแต่ละตัวมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเกิน 0.30 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกตัว และการแปลผลคะแนนจิตวิญญาณความเป็นครูสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ โดยใช้เกณฑ์ปกติการวัดจิตวิญญาณความเป็นครูคะแนนมาตรฐานเก้า มี 9 ระดับ พบว่า นักศึกษาที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูสูงมาก ช่วงคะแนน 6.50-6.80 คะแนน จำนวน 2 สาขาวิชา นักศึกษาที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูสูง ช่วงคะแนน 5.95-6.49 คะแนน จำนวน 15 สาขาวิชา และนักศึกษาที่มีจิตวิญญาณความเป็นครูค่อนข้างสูง ช่วงคะแนน 5.15-5.94 คะแนน จำนวน 3 สาขาวิชา 
Description: Doctor of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/94
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58571150109.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.