Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/93
Title: Policy proposals for improving science grade of Prathom Suksa 6 Schools in the Phetchabun Educational Service Area Office Area 3
ข้อเสนอเชิงนโยบายการยกระดับผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3
Authors: Chutima Hongboonmee
ชุติมา หงษ์บุญมี
Vajee Panyasai
วจี ปัญญาใส
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: ข้อเสนอเชิงนโยบาย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาที 6
Policy Proposals
Learning Outcomes
Prathomsuksa 6 Science Subject
Issue Date:  31
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: This research aimed to study current condition and problems of teaching and learning management; to investigate causal factors influencing learning achievement elevation; to develop policy proposals; and to examine the policy proposals to enhance Prathomsuksa 6 science learning outcomes of the schools under the Office of Phetchabun Primary Education Service Area 3. The study used a mixed methods research design.The population consisted of 190 administrators and 2,226 Prathomsuksa 6 science teachers of schools under the Office of Phetchabun Primary Educational Service Area 3. The sample, selected through a simple random sampling method, was 127 administrators and 333 science teachers. The research tools were a set of questionnaires, an interview form, a suitability assessment form, a feasibility assessment form, and a utility assessment form. The quantitative data was analyzed using percentage, mean, and standard deviation, whereas the qualitative data was analyzed using content analysis. The results showed that current condition and problems of Prathomsuksa 6 science teaching and learning in schools under the Office of Phetchabun Primary Education Service Area 3 consisted of 7 aspects as follows: 1. teaching and learning management, 2. teachers, 3. students, 4. teaching materials, 5. evaluation, 6. administration, and 7. parents. The most problematic causal factors influencing science learning outcomes elevation in each aspect were as follows: teaching and learning-studying science in class was not associated with the community problems and the students’ interest; teachers-acquisition of new knowledge and science instructional techniques to improve their science teaching; students-realizing the importance of science; teaching materials-providing sufficient supply of scientific materials; evaluation-creating evaluation tools and criteria; administrators-lacking academic leadership; and parents or guardians-recognition of the importance of studying science. With regard to the development of policy proposals for those seven aspects at the level of the education service area, the policy could be identified as follows: teaching and learning-to encourage the development of teachers' teaching skills by emphasizing knowledge adaptation in daily life; teachers- to provide teachers with new teaching techniques workshops and ongoing supervision; students-to organize an ongoing wide variety of science skills competitions; teaching materials-to provide trainings on using materials, media, equipment, and learning resources;  evaluation-to promote and organize workshops on creating assessment tools;  administration-to promote academic leadership; and parents or guardians-to encourage school administrators to emphasize participatory management. Regarding policy proposals at the school level, practical guidelines for each aspect were as follows: teaching and learning-to promote science project activities by focusing on science issues related to everyday life; teachers-to supervise and exchange teaching and learning knowledge management regularly within school; students-to develop school science laboratories to be easily accessible and functional; inside and outside learning materials-to focus on learning issues on local wisdom; evaluation-to encourage a wide variety of evaluations; administration-to provide continuous supervision of teaching and learning; parents or guardians-to promote scientific activities under parental collaboration. In addition, the results of the examination of policy proposals for improving students’ science learning outcomes revealed that all aspects had feasibility, utility, and suitability at the highest level.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอน  ศึกษาปัจจัยสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย และตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบายการยกระดับผลการเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร ประกอบด้วยผู้บริหารที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 190 คน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาทีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 2,226 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีสุ่มแบบง่าย ประกอบด้วยผู้บริหาร จำนวน 127 คน ครูผู้สอนจำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา    ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3  มี 7 ด้าน ดังนี้ 1.  ด้านการจัดการเรียนการสอน  2.  ด้านครูผู้สอน 3.  ด้านนักเรียน 4.  ด้านสื่อ 5.  ด้านประเมินผล  6.  ด้านบริหารจัดการ และ 7.  ด้านผู้ปกครอง สำหรับปัจจัยสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับผลการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นปัญหามากที่สุดในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนไม่เชื่อมโยงกับปัญหาในชุมชนและความสนใจของนักเรียน ด้านครูผู้สอน การแสวงหาความรู้และเทคนิคใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงการสอนวิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ด้านนักเรียน คือ การให้ความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์ ด้านสื่อ การจัดหาสื่อวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอ ด้านประเมินผล การสร้างเครื่องมือและเกณฑ์ การประเมินผล ด้านผู้บริหาร ความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านผู้ปกครอง การให้ความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์ ส่วนการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายทั้ง 7 ด้าน มีกระบวนการในการปฏิบัติระดับเขตพื้นที่การศึกษา คือ นโยบายด้านการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะการสอนของครู โดยเน้นการนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน นโยบายด้านครูผู้สอน จัดอบรมให้ความรู้ใหม่ด้านเทคนิคการสอนและมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง นโยบายด้านนักเรียน มีการจัดกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง นโยบายด้านสื่อ จัดอบรมใช้สื่ออุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ นโยบายด้านประเมินผล ส่งเสริมจัดอบรมการสร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผล นโยบายด้านบริหารจัดการ ส่งเสริมความเป็นผู้นำทางวิชาการ และนโยบายด้านผู้ปกครอง ส่งเสริมผู้บริหารโรงเรียนโดยเน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วมระดับโรงเรียน มีกระบวนการในการปฏิบัติ คือ นโยบายด้านการจัดการเรียนการสอนส่งเสริมกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยเน้นประเด็นวิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวัน นโยบายด้านครูผู้สอน ติดตามนิเทศและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ นโยบายด้านนักเรียน พัฒนาห้องปฏิบัติการให้สะดวกในการใช้งาน นโยบายด้านสื่อเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียนโดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น นโยบายด้านการประเมินผล ส่งเสริมให้มีการประเมินผลที่หลากหลาย นโยบายด้านการบริหารจัดการให้มีการนิเทศการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง นโยบายด้านผู้ปกครอง ส่งเสริมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง นอกจากนี้ ผลการตรวจสอบ ข้อเสนอเชิงนโยบาย การยกระดับผลการเรียนวิทยาศาสตร์ พบว่า ทุกด้านมีความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/93
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58571150105.pdf14.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.