Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/90
Title: A Study of Undergraduate Student Identity of Mahachulalongkornrajavidyalaya University
การศึกษาอัตลักษณ์นิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Authors: Nopparat Rattanawong
นพรัตน์ รัตนวงศ์
Rapin Posrie
ระพินทร์ โพธิ์ศรี
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: อัตลักษณ์ด้านจิตพิสัย
นิสิตระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Identity on Desirable Characteristics
Undergraduate Students
Mahachulalongkornrajavidyalaya University
Issue Date:  5
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to investigate development, problems, and difficulty in producing undergraduate students; design an identity scale of affective domain in 8 aspects; and explore effects of gender, age, year of study, status of student (monkhood, householder), faculty, and campus on student identity of affective domain in 8 aspects of Maha Chulalongkornrajavidyalaya University. The population was 7,113 undergraduate students in 2018 academic year from every campus of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. The sample selected by stratified random sampling method was 840 undergraduate students from 5 campuses of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. The main 12 informants with knowledge and experience in administration included vice presidents, assistants to the president, deans, vice deans, assistant deans, and lecturers in Mahachulalongkornrajavidyalaya University. The instruments used were a questionnaire, an interview form for problems, a student identity scale of affective domain in 8 aspects. Problem severity analysis, confirmatory factor analysis, and multiple linear regression were the parameters used for statistical analysis.   The findings revealed that the process of producing and developing undergraduate students at present were under the responsibility of the student affairs division which was divided into 3 sections: student activity, student welfare, and religious activity. The highest ranked problems and difficulties were durability and consistency of student identity promoting activities, students’ cooperation in participation in student’s characteristics activities provided by the university, and the wide publicity for the identity and culture promotion of Maha Chulalongkorn Rajavidyalaya University respectively. The identity scale of affective domain consisted of 8 main aspects and 20 indicators. The factor loading for all aspects was over 0.05 and the indicators were statistically significant at 0.05. The two factors affecting the identity of affective domain in 8 aspects were faculty and campus with statistical significance at 0.05; whereas, other factors had no statistically significant effect.  
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนา ปัญหา อุปสรรค ของการผลิตนิสิตระดับปริญญาตรี สร้างแบบวัดอัตลักษณ์ด้านจิตพิสัย 8 ประการ และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้าน เพศ ชั้นปี อายุ ประเภทนิสิต (บรรพชิต,คฤหัสถ์) คณะ และวิทยาเขต ต่ออัตลักษณ์ด้านจิตพิสัย 8 ประการ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประชากรได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในปีการศึกษา 2561 ทั้งหมด  7,113  รูป/คน จากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตปริญญาตรี จำนวน 840 รูป/คน จาก 5 วิทยาเขต ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักมีทั้งหมด 12 รูป/คน ประกอบด้วย รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านการบริหาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ปัญหา และแบบวัดอัตลักษณ์นิสิตด้านจิตพิสัย 8 ประการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความรุนแรงของปัญหา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตและพัฒนานิสิตระดับปริญญาตรีในปัจจุบัน มีหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบคือ กองกิจการนิสิต แบ่งเป็น 3 ส่วนงาน ได้แก่ กลุ่มงานส่งเสริมกิจการนิสิต กลุ่มงานสวัสดิการนิสิต และกลุ่มงานปฎิบัติศาสนกิจ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตปริญญาตรี ที่อยู่ในเกณฑ์เป็นปัญหามาก มี 3 ประเด็น ได้แก่ ความยั่งยืนและต่อเนื่องของการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์นิสิต ความร่วมมือของนิสิตในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมนวลักษณ์ตามที่มหาวิทยาลัยจัดให้ และมีการประชาสัมพันธ์การส่งเสริมอัตลักษณ์และวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อย่างทั่วถึง ตามลำดับ โดยมีแบบวัดอัตลักษณ์ด้านจิตพิสัย 8 องค์ประกอบกลัก 20 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเกิน 0.50 ทุกตัวชี้วัด มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์ด้าน  จิตพิสัย 8 ประการ มี 2 ปัจจัย ได้แก่ คณะ และวิทยาเขต มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยอื่น ๆ มีอิทธิพลเพียงเล็กน้อย ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  
Description: Doctor of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/90
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58571150106.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.