Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/72
Title: The Fabrication Of Durian Peel Activated Carbon By Using Steaming Activation
การผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียนโดยวิธีการกระตุ้นด้วยไอน้ำ
Authors: Punpatipat Wongpim
ปัณณ์ปฏิพัทธ์ วงษ์พิมพ์
Phalitphat Khumfu
พลิศภัสร์ คำฟู
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Industrial Technology
Keywords: ถ่านกัมมันต์ เปลือกทุเรียน การกระตุ้นด้วยไอน้ำ
Activated Carbon Durian Peel Steaming Activation
Issue Date:  6
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to study process, quality and appropriate condition of fabrication of activated carbon produced from durian peels and to examine adsorptive capacity of the activated carbon. The experiment started with carbonizing durian peels by burning in a confined space at 400 °C for 1 hour then using steaming activation at 100 °C for 30, 60 and 90 minutes. Afterwards, the durian peel activated carbon was analyzed for moisture content, pH value, percentage of yield, heavy metal adsorption, and BET.                                                     The results revealed that the moisture content of durian peel activated carbon burned in a confined space was 24.16% with 75.92-75.96 percentage of yield, 9.94 pH value, heavy metal adsorption at 0.23-12.87% and 215 m2/g BET. However, after steaming activation the moisture content of durian peel activated carbon was between 13.96-13.99%, while the percentage of yield increased to 86.03-86.06. Similarly, the percentage of heavy metal adsorption increased to 0.83-73.40, while the pH value decreased to 7.24-7.34. Moreover, the results showed an increase of the BET to 531-612 m2/g.                                                                          Therefore, the fabrication of durian peel activated carbon by steaming activation can produce the activated carbon with the adsorption value  that has met the standard of TIS 900-2547.          
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ คุณสมบัติ และสภาวะที่เหมาะสม ในการผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียน และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับของ ถ่านกัมมันต์ โดยเปลือกทุเรียนจะถูกคาร์บอไนเซชั่นด้วยการเผาแบบอับอากาศ ที่ อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง นำผงถ่านที่ได้มาทำการกระตุ้นด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30, 60 และ 90 นาที จากนั้นนำมา วิเคราะห์ค่าความชื้น ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าร้อยละผลผลิต และค่าการดูดซับโลหะหนัก และพื้นที่ผิว BET                     ผลวิจัย พบว่า ผงถ่านที่ผ่านการคาร์บอนไนเซซั่นเผาแบบอับอากาศมีค่าร้อยละ ความชื้น 24.16 มีค่าร้อยละของผลผลิตอยู่ในช่วง 75.92-75.96 มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ที่ 9.94 มีร้อยละการดูดซับโลหะหนักอยู่ที่ 0.23-12.87 และมีพื้นที่ผิว BET เท่ากับ 215 ตารางเมตรต่อกรัม และทำการกระตุ้นด้วยไอน้ำ พบว่าค่าร้อยละความชื้นเฉลี่ยเท่ากับ 13.96-13.99 ค่าร้อยละผลผลิต มีค่าเพิ่มขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 86.03-86.06 ตามลำดับ ค่าร้อยละของการดูดซับโลหะหนัก มีค่าเพิ่มขึ้น โดยการกระตุ้นไอน้ำ มีค่าเฉลี่ยร้อยละอยู่ในช่วง 0.83-73.40 ขณะที่ค่าความเป็น กรด-ด่าง มีค่าลดลงจาก 9.94 อยู่ในช่วง 7.24-7.34 และเมื่อพิจารณาค่าพื้นที่ผิว BET พบว่า มีค่าพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้นโดยมีค่าอยู่ในช่วง 531-612 ตารางเมตรต่อกรัม                                                  ดังนั้น กระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียนที่กระตุ้นด้วยไอน้ำ สามารถผลิตถ่านกัมมันต์จากเปลือกทุเรียนที่ได้ค่าการดูดซับผ่านตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 900-2547
Description: Master of Engineering Program
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/72
Appears in Collections:Faculty of Industrial Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57556780107.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.