Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/176
Title: Factors Influencing Elders’ Fall Prevention Behaviors in Tha-it Sub-district, Mueang District, Uttaradit Province
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
Authors: Supatsorn Boonkrabphuang
สุภัสสร บุญกรับพวง
Kittiwan Junrith
กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Science and Technology
Keywords: หกล้ม
พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม
ผู้สูงอายุ
Fall
Fall Prevention Behavior
Elderly
Issue Date:  25
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: This research aimed to study predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors, and factors predicting fall prevention behavior in elderly people in Tha-it Sub-district, Mueang District, Uttaradit Province. The population was 4,775 elders living in Tha-it Sub-district where the samples of 346 were taken through multi-stage sampling. The research tools comprised a screening form and a set of questionnaires. The statistics used for data analysis included frequency, percentage, average, standard deviation, and multiple regression analysis. The results showed that the predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors, and fall prevention behaviors of elders in Tha-it Sub-district, Mueang District, Uttaradit Province were at a high level. The predisposing factors were perception of fall risk and perception of benefits of preventing falls. The enabling factors were perception of information and access to healthcare service providers. The reinforcing factor was social support. These three factors all together were used to predict the fall prevention behavior in the elderly people in Tha-it Sub-district, Mueang District, Uttaradit Province. It was found that the predisposing factors were 29 percent, the enabling factors were 27 percent, and the reinforcing factor was 28 percent, respectively with statistical significance at the 0.05 level. The results found from the research could be further used to set guidelines for relevant associates in designing activities and programs or creating public relations materials to promote the awareness of fall risk possibilities and to understand the benefits of the elders’ fall prevention in Tha-it Sub-district.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม  และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรคือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 4,775 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 346 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบคัดกรองและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ในระดับสูง โดยด้านปัจจัยนำได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการหกล้ม และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการหกล้ม ด้านปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการเข้าถึงสถานบริการทางสุขภาพ และด้านปัจจัยเสริมได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากสังคม โดยทั้ง 3 ปัจจัยนี้ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์พบว่าปัจจัยนำได้ร้อยละ 29  ปัจจัยเอื้อร้อยละ 27 ปัจจัยเสริมร้อยละ 28 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดกิจกรรม โปรแกรม หรือการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการหกล้มและการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลท่าอิฐต่อไป 
Description: Master of Public Health Program
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/176
Appears in Collections:Faculty of Sciences and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60552790113.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.