Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/162
Title: Effectiveness of Behavior Modification Program for Food Consumption among High-Risk Groups for High Blood Pressure in Faktha Sub-district, Faktha District, Uttaradit Province
ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิต ตำบลฟากท่าอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
Authors: Arunrat Bunkham
อรุณรัตน์ บุญคำ
Jakkrite Pinyaphong
จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Science and Technology
Keywords: โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
กลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิต
Behavior Modification Program
Food Consumption Behavior
High-risk Group for High Blood Pressure
Issue Date:  4
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purpose of this research was to examine the effectiveness of a behavior modification program for food consumption in a high-risk group for high blood pressure. The population was a high-risk group for high blood pressure of 239 adults aged 35-59 in the 2019 fiscal year in Faktha Sub-district, Faktha District, Uttaradit Province. The study sample was divided into two groups, experimental and comparison, with 32 participants in each group using a simple sampling technique. The experimental group was given a program created by applying the self-efficacy theory along with the social support theory, whereas the comparison group was given a hospital’s normal health behaviour modification program. The research instrument was a questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics and independent t-test. The results of the program effectiveness showed that after the experiment, the experimental group had a statistically significantly higher average score on knowledge of high blood pressure, self-efficacy for eating, expectations for food consumption behavior modification, social support for food consumption behavior modification, and food consumption behavior modification than that of the comparison group at 0.05. When comparing within the experimental group, an average score on knowledge of high blood pressure, self-efficacy for eating, expectations for food consumption behavior modification, social support for food consumption behavior modification, and food consumption behavior modification was statistically significantly higher than that before the experiment at 0.05. Therefore, the activities should be done regularly and continuously to make long-term behavior modification.
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิต กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิต โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 32 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามปกติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมระหว่างกลุ่ม โดยใช้ Paired t–test และ Independent t–test ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถแห่งตนเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ความคาดหวังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     (p-value<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความสามารถแห่งตนเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ความคาดหวังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     (p-value<0.05) ดังนั้นควรจัดกิจกรรมให้มีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในระยะยาว
Description: Master of Public Health Program
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/162
Appears in Collections:Faculty of Sciences and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61552790110.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.