Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/161
Title: The Effects of Using Physical Therapy Program Based on Health Belief Model and Self Efficacy on Pain Intensity and Physical Function of Chronic Lower Back Pain Patient in Acupuncture Clinic
ผลการใช้โปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดตามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองต่อระดับความเจ็บปวดและความสามารถทางกายของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังในคลินิกฝังเข็ม
Authors: Jularut Ruamjit
จุฬารัตน์ รวมจิต
Saranyoo Ruanjan
ศรัณยู เรือนจันทร์
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Science and Technology
Keywords: โปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัด
รูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพ
ทฤษฎีความสามารถตนเอง
ปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง
ความสามารถทางกาย
Physiotherapy Teaching Program
Health Belief Model
Self-efficacy Theory
Chronic Low Back Pain
Physical Function
Issue Date:  4
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The research study aimed to investigate and compare the effects of a physical therapy program based on health belief and theory of self-efficacy on pain intensity, physical function, perception of health belief and self-efficacy in chronic lower back pain patients of the acupuncture clinic at Fort Pichaidaphak Hospital in Uttaradit Province. The population was 298 outpatients aged 20-45 years who were diagnosed with chronic idiopathic lower back pain between 2019 and 2020. The sample was divided by a simple random sampling method into an experimental group and a control group, each consisting of 30 patients, making a total of 60. The study took 8 weeks. The experimental group received acupuncture treatment in coordination of a physical therapy program based on health belief and self-efficacy, whereas the control group received regular acupuncture treatment alone. The research instruments were a numeric pain rating scale, a physical function assessment form, a questionnaire on four aspects of health belief, and a questionnaire on two aspects of self-efficacy.  The descriptive statistics were applied, and t-test was conducted to compare the data. The results showed that after the 8-week physical therapy program, the experimental group had lower pain intensity levels, higher physical function levels, and better perception of their health belief and self-efficacy. When compared with the control group, significant differences at a level of 0.05 were observed for all aspects, except for perceived behavioral expectations for chronic lower back pain relief, which showed no differences. The results suggest that the physical therapy program based on health belief and self-efficacy can be a practical treatment option for treating a chronic lower back pain, and improving physical function in chronic lower back pain patients.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดตามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองต่อระดับความเจ็บปวด ระดับความสามารถทางกาย การรับรู้ตามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพ และการรับรู้ความสามารถตนเองในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ที่มารับบริการในคลินิกฝังเข็ม โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากร คือ ผู้ป่วยนอกทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุ 20–45 ปี ที่มารับบริการคลินิกฝังเข็ม ของโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ชนิดไม่ทราบสาเหตุ ในช่วงปี 2562-2563 จำนวน 298 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 คน ระยะเวลาดำเนินการ 8 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับการฝังเข็มและโปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดตามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเอง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มตามปกติ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ มาตรวัดความเจ็บปวดแบบตัวเลข แบบประเมินความสามารถทางกาย แบบสอบถามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพ 4 ด้าน และแบบสอบถามความสามารถของตนเอง 2 ด้าน การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบโดยการทดสอบที ผลการศึกษาโปรแกรมพบว่า หลังได้รับโปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัด 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนระดับอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง และระดับความสามารถทางกายดีขึ้นสำหรับการรับรู้ตามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถตนเองมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความคาดหวังของการมีพฤติกรรมต่อการลดอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่าโปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดที่ประยุกต์รูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังและส่งเสริมความสามารถทางกายของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังได้
Description: Master of Public Health Program
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/161
Appears in Collections:Faculty of Sciences and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61552790108.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.