Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/129
Title: Forecasting Factors on Risks of Knee Osteoarthritis in the Elderly in Responsible Area of Ngew-ngam Queen Sirikit Health Center
ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี งิ้วงาม
Authors: Ruksakulchai Thongjan
รักสกุลชัย ทองจันทร์
Kittiwan Junrith
กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Science and Technology
Keywords: ผู้สูงอายุ
โรคข้อเข่าเสื่อม
ปัจจัยเสี่ยง
Elderly
Knee Osteoarthritis
Risk Factors
Issue Date:  8
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The objective of the study was to investigate personal factors, self-care behaviors, and severe knee pain; and to find the forecast equation on the risk of knee osteoarthritis in the elderly in the responsible area of Ngew-ngam Queen Sirikit Health Center. The population comprised 994 elderly people who started experiencing knee pain but had not been diagnosed with knee osteoarthritis. The sample, selected by systematic random sampling, was 240 elderly people who started experiencing knee pain but had not been diagnosed with knee osteoarthritis. The research instrument was a questionnaire. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and logistic regression analysis. The results revealed that the elderly people were females with an average weight of 56.4 kilograms, 156 centimeters height, and 22.8 BMI; their average scores of self-care behaviors and severe knee pain were at a moderate level. Moreover, the elderly had increasing self-care behavior for not going up and down on stairs and steep slopes, and self-controlling for not gaining weight, both of which helped to forecast the risk of knee osteoarthritis of the elderly in the area up to 30.40 percent. Nevertheless, health related organizations should support the activities to adjust their self-care behaviors when experiencing knee pain; educate them about how to choose food which will not affect weight gain, to exercise to control weight, and to do other activities which are suitable for the elderly.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการดูแลตนเอง และความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่า และหาสมการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี งิ้วงาม ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการปวดข้อเข่าแต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 994 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการปวดข้อเข่าแต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 240 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบทวิภาค ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุเป็นเพศหญิง มีน้ำหนักเฉลี่ย 56.4 กิโลกรัม ส่วนสูงเฉลี่ย 156 เซนติเมตร ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 22.8 มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่าอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่า น้ำหนัก พฤติกรรมการดูแลตนเองโดยการไม่เดินขึ้นลงบันไดหรือพื้นที่ลาดชัน และพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยการควบคุมไม่ให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น สามารถร่วมกันทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี งิ้วงาม ได้ร้อยละ 30.40 ทั้งนี้หน่วยงานด้านสุขภาพหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองเมื่อมีอาการปวดข้อเข่า การให้ความความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่จะส่งผลไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น การออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากขึ้น และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุต่อไป
Description: Master of Public Health Program
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/129
Appears in Collections:Faculty of Sciences and Technology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60552790106.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.