Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/116
Title: Guidelines for Professional Learning Community Management of the Educational Opportunity Extension Schools under the Sukhothai Primary Education Area Office 2
แนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 
Authors: Leelawade Rodlod
ลีลาวดี รอดแล้ว
Phimphaka Thammasit
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: แนวทางการบริหาร
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
โรงเรียนขยายโอกาส
Guidelines for Management
Professional Learning Community
Educational Opportunity Extension School
Issue Date:  8
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purpose of this research was to study the conditions and guidelines for professional learning community management of educational opportunity expansion schools under Sukhothai Primary Educational Service Area Office 2. The population included 36 school administrators and 387 teachers, 423 people in total, from 36 educational opportunity expansion schools under Sukhothai Primary Educational Service Area Office 2.  The study sample, selected through the stratified sampling technique, consisted of 36 school administrators and 196 teachers, 232 respondents in total. The research instruments were a questionnaire and a focus group discussion. The statistical devices employed for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The results showed that overall the conditions of professional learning community management in educational opportunity expansion schools under Sukhothai Primary Educational Service Area Office 2 was at a high level in all seven aspects. Kalyanamitra, or friendship, received the highest average score, followed by organizational atmosphere, organizational culture, organizational vision, transformational leadership, organizational structure, and teaching and learning management, respectively. Regarding the guidelines for professional learning community management of schools, they included creating a convenient and functional organization structure; taking into account an individual’s knowledge and abilities; and designing high-performance work environments. It was also discovered that school administrators and teachers developed mutual understanding in order to create chances for them to openly communicate and share ideas with one another; and that school administrators encouraged teachers to attend trainings on a regular basis. Additionally, schools established a vision of success that stemmed from the need of all parties; as well as encouraged teachers to produce and develop learning materials and conduct instructional supervision. Furthermore, school administrators and teachers accepted both similar and dissimilar viewpoints and collaborated to develop learners capable of making professional changes.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย   เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนขยายโอกาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 จำนวน 36 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 36 คน และครู จำนวน 387 คน รวมทั้งสิ้น 423 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 36 คนและครู จำนวน 196 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ รวมจำนวน 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน ขยายโอกาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2  ภาพรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านกัลยาณมิตร รองลงมาคือด้านบรรยากาศองค์กร ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านวิสัยทัศน์องค์กร ด้านภาวะผู้นำทางการเปลี่ยนแปลง ด้านโครงสร้างองค์กร และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ ส่วนแนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน คือ การจัดโครงสร้างที่สะดวกคล่องตัวในการปฏิบัติ คำนึงถึงความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล จัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ผู้บริหารและครูสร้างความเข้าใจร่วมกัน เปิดโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนเสนอความคิดเห็นร่วมกันอย่างมีอิสระ ผู้บริหารสนับสนุนครูให้เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนกำหนดภาพความสำเร็จที่มาจากความต้องการของทุกฝ่าย พัฒนาครูให้สามารถผลิตพัฒนาสื่อการเรียนและนิเทศการจัดการเรียนรู้ และโรงเรียนมีผู้บริหารและครูที่ยอมรับความคิดเห็นทั้งเหมือนและต่างกันได้ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพ
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/116
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63551140123.pdf8.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.