Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/111
Title: New Normal Learning Management in Educational Opportunity Expansion Schools under Sukhothai Primary Educational Service Area Office 2
การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2 
Authors: Nattapat Boonged
ณัฐพัชร์ บุญเกตุ
Yokkaew Kamolvoradej
หยกแก้ว กมลวรเดช
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่
โรงเรียนขยายโอกาส
New Normal Learning Management
Educational Opportunity Expansion Schools
Issue Date:  8
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to investigate conditions and problems of new normal learning management, as well as to study new normal learning management guidelines in educational opportunity expansion schools under Sukhothai Primary Educational Service Area Office 2. The population comprised of 15,484 school administrators, deputy school administrators, teachers, educational supervisors, and academic experts. The study sample consisted of 235 participants, selected through the stratified sampling technique. The research instruments were a questionnaire and an interview. The statistical devices employed for data analysis were frequency, mean, standard deviation, and content analysis. The results showed six areas for the conditions and problems of new normal learning management in educational opportunity expansion schools under the Office of Sukhothai Primary Educational Service Area 2. They were curriculum management, new normal educational evaluation, teaching and learning, new resource management based on new priorities, teacher development, and reflection from teachers, parents, students, and communities. For learning management guidelines, it was found that a curriculum structure should be designed based on student differences and the context of the school for curriculum management. The new normal educational evaluation should shift from “assessment of learning” to “assessment for learning” using a range of approaches that lead to more effective learning based on the results. For teaching and learning, a learning management model should be developed based on participatory learning, fun activities, and a safe learning environment. For new resource management based on new priorities, budgets for equipment and technology should be supported, as well as the development of online teaching and learning. Regarding teacher development, there should be training for parents, school administrators, and teachers on how to develop students. For reflection, there should be an opportunity for teachers, parents, students, and communities to offer feedback to maximize problem solutions.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้และแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15,484 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 235 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ประกอบไปด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการประเมินผลในการศึกษาแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรใหม่ตามลำดับความสำคัญใหม่ ด้านการพัฒนาครู และด้านการรับฟังเสียงสะท้อนจากครูผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน สำหรับแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้พบว่า การบริหารหลักสูตร ควรมีการออกแบบโครงสร้างหลักสูตรโดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียนและบริบทของโรงเรียน การประเมินผลการศึกษาแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ เปลี่ยนจาก“การประเมินผลการเรียน” ไปสู่ “การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้” โดยใช้วิธีการที่หลากหลายและนำผลไปต่อยอดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนการจัดการเรียนการสอน ควรพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สนุกกับการเรียนรู้ และอยู่อย่างปลอดภัย การบริหารจัดการทรัพยากรใหม่ตามลำดับความสำคัญใหม่ ควรสนับสนุนงบประมาณด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี พัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับการพัฒนาครู ควรจัดอบรมผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ในการพัฒนานักเรียน และการรับฟังเสียงสะท้อน ควรเปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชน เสนอความคิดเห็นดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/111
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63551140110.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.