Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/80
Title: Effects of Learning Management for Science Entitled Living Things and Process of Living through Brain-Based Learning and STAD technique for Prathomsuksa 5
ผลการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิตด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: Nawapron Heeminkul
นวพร ฮีมินกูล
Sumitra Rojananiti
สุมิตรา โรจนนิติ
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
เทคนิค STAD
Brain-based Learning
STAD Technique
Issue Date:  14
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to develop a lesson plan, compare learning achievement and study student satisfaction of Prathomsuska 5 students toward learning management for science entitled Living Things and the Process of Living through brain-based learning and STAD technique. The population of this research was 326 Prathomsuksa 5 students from 10 schools in Sriwisut School group under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 1. The sample selected by cluster sampling was 31 Prathomsuksa 5 students from Watnernmakuek School. The instruments used were a lesson plan, an achievement test and a satisfaction survey. The mean, standard deviation and t-test were the parameters used for statistical analysis. The results revealed that the lesson plan for science entitled Living Things and the Process of Living through brain-based learning and STAD technique for Prathomsuksa 5 students consisted of 10 units namely, Flower Plant Reproduction, Plant Propagation, Angiosperm Life Cycle, Animal Reproduction, Animal Breeding, Animal Life Cycle, Angiosperms and Gymnosperms, Monocotyledon and Dicotyledon, Vertebrates, and Invertebrates. The effectiveness of the lesson plan was 81.08/80.65 which met the 80/80 set criteria. The learning achievement of post-learning was statistically significantly higher than the pre-learning at 0.05. Furthermore, the student satisfaction was at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนศรีวิสุทธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จำนวน 10 โรงเรียน ทั้งหมด 326 คนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดเนินมะคึก จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 แผน ได้แก่ การสืบพันธุ์ของพืชดอก  การขยายพันธุ์พืช วัฏจักรชีวิตของพืชดอก  การสืบพันธุ์ของสัตว์  การขยายพันธุ์สัตว์  วัฏจักรชีวิตของสัตว์  พืชดอกและพืชไม่มีดอก  พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่  สัตว์มีกระดูกสันหลัง  และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง     มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.08/80.65 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  80/80  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียน    มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/80
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59551101128.pdf7.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.