Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/58
Title: Guidelines for Promoting Leadership Characteristics of Digital Transformation of School Administrators in Opportunity Expansion Schools under Office of Uttaradit Primary Education Service Area 2
แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
Authors: Panus Chumpuyala
ปาณัสม์ ชุมภูยาละ
Chatphum Sichomphoo
ชัชภูมิ สีชมภู
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล
โรงเรียนขยายโอกาส
Leadership Characteristics of Digital Transformation
Opportunity Expansion Schools
Issue Date:  22
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to study level of leadership characteristics of digital transformation and guidelines for promoting the leadership characteristics of digital transformation of school administrators in opportunity expansion schools under Office of Uttaradit Primary Education Service Area 2. The population of this research was 25 school administrators and 220 teachers in opportunity expansion schools under Office of Uttaradit Primary Education Service Area 2. The instruments used were a questionnaire, an in-depth interview and a group discussion. The percentage, mean and standard deviation were the parameters used for statistical analysis. The results revealed that according to the opinions of administrators and teachers, the level of 5 aspects of leadership characteristics of digital transformation of school administrators in opportunity expansion schools under Office of Uttaradit Primary Education Service Area 2 were overall at a high level. The highest ranked was intellectual stimulation followed by individualized consideration, inspiration motivation, idealized influence, and creating and communicating vision respectively. The guidelines for promoting the leadership characteristics of digital transformation were categorized into 5 aspects: intellectual stimulation – education personnel should work together on SWOT analysis to analyze problems in schools and create solution plans to keep up with changes; individualized consideration – school administrators must know personnel’s abilities and put the right person in the right position, and also give opportunities for teachers to show their abilities and develop their skills; inspiration motivation – school administrators should raise personnel’s morale by praising and rewarding the personnel when they succeed; creating and communicating vision - school administrators should have a vision with a clear goal, and adopt new ideas and technology to management to make schools able to keep up with the pace of change; and idealized influence – school administrators should possess leadership characteristics of digital era, be able to manage, and develop efficient operational strategies as well as treat personnel equally.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล และแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 โดยแบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 25 คน และครูผู้สอน จำนวน 330 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด รวมทั้งสิ้น 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบคุณลักษณะ 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับดังนี้ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีและการสร้างบารมี และด้านการสร้างและการสื่อสารวิสัยทัศน์ สำหรับแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ควรให้บุคลากรทางการศึกษาร่วมประชุมวิเคราะห์ SWOT หาสาเหตุปัญหาและจัดทำแผน แก้ไขปัญหาในสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องทราบคุณลักษณะและมอบหมายงานตามความสามารถของบุคลากรในสถานศึกษาตลอดจนเปิดโอกาสให้ครู ได้แสดงศักยภาพและพัฒนาตนเองให้ตรงตามความสามารถของแต่ละบุคคล ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารสถานศึกษา ควรสร้างขวัญกำลังใจและเสริมแรงทางบวกโดยวิธีการชมเชย ให้รางวัล เมื่อมองเห็นความสำเร็จของบุคลากร ด้านการสร้างและการสื่อสารวิสัยทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล กำหนดเป้าหมายการบริหารงานที่ชัดเจน นำแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาบริหารสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีและการสร้างบารมี ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบุคลิกภาพของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลสามารถบริหารจัดการสถานศึกษา พัฒนายุทธศาสตร์ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับบุคลากรอย่างเท่าเทียม
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/58
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62551140108.pdf7.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.