Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/43
Title: Efficiency, Effectiveness and Impacts of The Policy Implementation of  Small School Amalgamation, Uttaradit Province
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบของการนำนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กสู่การปฏิบัติ จังหวัดอุตรดิตถ์
Authors: Niracha Phantuphat
นิรชา พันธุพัฒน์
Rapin Posrie
ระพินทร์ โพธิ์ศรี
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล, ผลกระทบ, การควบรวม
efficiency effectiveness impact merging
Issue Date:  22
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to study operational process and difficulties; examine efficiency, effectiveness, and impacts; and explore small school amalgamation policy implementation guidelines on both successful and unsuccessful cases in Uttaradit Province. The sample selected by purposive sampling was 14 schools, which were amalgamated in 2017 - 2018 academic year, namely Phichaidabhak School, Chumchon Muangpakfang School, Watklongnapong School, Watwangyang School, Prachachon Uthit School, Thairat Wittaya 5 School, Chumchon Wat Barommathat School, Anuban Chumchonhuadong School, Banleamtong School, Chumchon Bankeang School, Banwangdang School, Banseankhan School, Bannapakai School and Tapla-anusorn School 1.  In addition, a case study was done on 2 schools. The instruments used were a questionnaire, a survey and an interview. The percentage, mean and standard deviation were the parameters used for statistical analysis. The results revealed the following: with regard to the operational process and difficulties, it was found that the policy implementation followed the process of implementation systematically from National Plan, Office of the Basic Education Commission, Province, District, and to target small schools, respectively. Regarding the difficulties in the operational process, the main school administrators’ opinions indicated that the problem of insufficient teachers who specialized in major subjects was at a high level, whereas the teachers needed teaching media, materials and equipment. Regarding the efficiency in operational process and human resource management, it was overall at a low level. In terms of effectiveness, amalgamated small schools failed O-NET in 2018 and failed to meet the standards of the third Quality Assurance from Office of National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization) in all three aspects, which were considered ineffective. Furthermore, the impacts of the policy implementation indicated that parents’ expenses increased and schools were left abandoned. This eventually wasted a lot of government budget. The small school amalgamation policy implementation guidelines could work well in successful cases because school administrators, teachers, parents, communities, Office of the Basic Education Commission committee as well as local leaders understood the small school amalgamation policy and were willing to support. Moreover, school administrators and teachers performed their best on their jobs; thus, the learning outcome reflected in the score was higher than the O-NET mean scores and NT. However, those unsuccessful cases were resulted from low-income parents who could not handle higher expenses. Fortunately, all parties were willing to support schools, and local leaders were emotionally attached to schools and keen to keep schools in the community.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ  ศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบ และศึกษาแนวทางการนำนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กสู่การปฏิบัติ กรณีที่ประสบความสำเร็จ และกรณีการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ประสบความสำเร็จในจังหวัดอุตรดิตถ์  กลุ่มตัวอย่างใช้เลือกโดยเทคนิคแบบเจาะจง จำนวน 14 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนพิชัยดาบหัก1  โรงเรียนชุมชนเมืองปากฝาง โรงเรียนวัดคลองนาพง โรงเรียนวัดวังยาง โรงเรียนประชาชนอุทิศ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) โรงเรียนชุมชนวัดบรมธาตุ โรงเรียนอนุบาลชุมชนหัวดง โรงเรียนบ้านแหลมทอง (ราษฎร์สามัคคี) โรงเรียนชุมชนบ้านแก่ง (ไกรสรพงษ์สงเคราะห์) โรงเรียนบ้านวังแดง (สหจิตวิทยาคาร) โรงเรียนบ้านแสนขัน โรงเรียนบ้านนาป่าคาย และโรงเรียนท่าปลาอนุสรณ์1 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการควบรวมในปีการศึกษา 2560-2561 และกรณีศึกษา จำนวน 2 โรงเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ด้านกระบวนการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคพบว่า การดำเนินการตามนโยบายได้มีการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน ตั้งแต่แผนระดับชาติ ระดับสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ มาสู่โรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนขนาดเล็ก สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนหลัก ปัญหาการมีครูไม่ครบตามวิชาเอกเป็นปัญหาระดับมาก  ส่วนของครูผู้สอนเป็นปัญหาความต้องการด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการสนับสนุนการสอน ด้านประสิทธิภาพพบว่า ประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน และการบริหารทรัพยากรด้านการศึกษา ภาพรวมยังมีประสิทธิภาพต่ำ ด้านประสิทธิผลพบว่า จำนวนโรงเรียนขนาดเล็กที่มีการควบรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2561 และผลการประเมินภายนอกรอบ 3 ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ทั้ง 3 ด้าน ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงถือว่าไม่มีประสิทธิผล และด้านผลกระทบพบว่า ผู้ปกครองต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ความเสียหายที่เกิดจากการยุบเลิกโรงเรียน โรงเรียนถูกทิ้งร้าง ทำให้รัฐเกิดความเสียหายด้านงบประมาณเป็นอย่างมาก แนวทางการนำนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก กรณีที่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้นำท้องที่ท้องถิ่น มีความเข้าใจในนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มความสามารถ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ทั้ง O-NET และ NT  และกรณีการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจนไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นได้ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพร้อมให้การสนับสนุนเพื่อให้โรงเรียนสามารถดำรงอยู่ได้ ผู้นำท้องถิ่นมีความรักความหวงแหนต่อโรงเรียนไม่ต้องการให้โรงเรียนถูกยุบเลิก และต้องการให้มีโรงเรียนอยู่คู่ชุมชนตลอดไป    
Description: Doctor of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/43
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58571150110.pdf10.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.