Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/41
Title: The Evaluation Model of The Community Leader Council in Self-Management for Livable Communities
รูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่ 
Authors: Chaen Atachai
แชน อะทะไชย
Charthapa Promma
ฉัตรนภา พรหมมา
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: รูปแบบการประเมิน, สภาผู้นำชุมชน, การจัดการตนเอง
evaluation model community leader council self-management
Issue Date:  22
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purpose of this research was to develop an evaluation model of the community leader council in self-management for livable communities. This mixed methods research was conducted in 3 phases. The first phase of the research was investigating work process and evaluation guidelines for community leader council by interviews and forums. The interviewees were a group of 20 people who worked in the community leader council of two villages and the informants of the forum were 69 village leaders from 69 villages. Both interviewees and informants were selected by purposive sampling from villages run by the community leader council. The second phase was developing an evaluation model by gathering comments from 17 experts using Delphi Technique. The third phase was implementing the evaluation model in two villages  selected by purposive sampling from villages that were well-operated and cooperated well on the research, as well as were driven by the community leader council. Then the quality of the model was evaluated by gathering comments from evaluators. The instruments used were a semi-structured interview and a questionnaire. The content analysis was used for qualitative analysis and the percentage, mean, median and interquartile range were the parameters used for quantitative analysis. The results revealed the following: Phase1 – the community leader council was able to carry on their role and succeeded in village management; however, there was no evaluation system. Thus, an evaluation model should be developed to obtain  information for improving and developing the community leader council. Phase 2 – the   evaluation model consisted of 9 core components, namely evaluation goal, evaluation objective, target, indicator and criteria, evaluation process, evaluator, evaluation tool, evaluation decision, and evaluation report. The results also showed that the experts’  comments agreed that the appropriateness of all components was at the highest level. Phase 3 – the results of the evaluation model implementation in two villages according to the components and indicators were at a high to the highest level. Similarly, the quality of the evaluation model suggested that its possibility, usefulness, appropriateness and correctness were at a high to the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางการประเมินสภาผู้นำชุมชน ด้วยการสัมภาษณ์และจัดเวที โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจงจากสภาผู้นำชุมชนที่เป็นคณะทำงาน 2 หมู่บ้านที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกสภาผู้นำชุมชนจำนวน 20 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจัดเวที เลือกแบบเจาะจงจากสภาผู้นำชุมชนที่เป็นผู้บริหาร 69 หมู่บ้านที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกสภาผู้นำชุมชน จำนวน 69 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการประเมิน ด้วยการสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบด้วยเทคนิคเดลฟาย โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการประเมิน 2 หมู่บ้าน เลือกแบบเจาะจง เป็นหมู่บ้านที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกสภาผู้นำชุมชนมีผลการดำเนินงานดีและให้ความร่วมมือในการวิจัย และประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินโดยการสอบถามความคิดเห็นจากคณะผู้ประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  ผลการวิจัย ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางการประเมินสภาผู้นำชุมชนพบว่า สภาผู้นำชุมชนสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาท และเกิดผลสำเร็จในด้านการบริหารจัดการหมู่บ้านแต่ยังไม่มีรูปแบบการประเมินที่เป็นระบบ ควรมีการพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อให้ได้สารสนเทศสำหรับการปรับปรุงและพัฒนาสภาผู้นำชุมชน  ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการประเมินสภาผู้นำชุมชนจัดการตนเองเพื่อชุมชนน่าอยู่พบว่า รูปแบบการประเมินประกอบด้วย 9 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ เป้าหมายการประเมิน วัตถุประสงค์การประเมิน สิ่งที่ประเมิน ตัวชี้วัดและเกณฑ์ประเมิน กระบวนการประเมิน ผู้ประเมิน เครื่องมือประเมิน การตัดสินผลการประเมิน และการรายงานผลการประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบดังกล่าวทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และระยะที่3 การทดลองใช้รูปแบบการประเมินพบว่าผลการประเมินสภาผู้นำชุมชน 2 หมู่บ้าน ตามองค์ประกอบและตัวชี้วัดของรูปแบบอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ส่วนการประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินพบว่ามีความเป็นไปได้ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกรายการ
Description: Doctor of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/41
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58571150101.pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.