Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/122
Title: Guidelines for Developing Information Technology Competence in the Digital Age of Administrators of Educational Opportunity Expansion Schools under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 1
แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
Authors: Pornthip Chaiphanaphan
พรทิพย์ ไชยพนาพันธ์
Chatphum Sichomphoo
ชัชภูมิ สีชมภู
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: การพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล
ผู้บริหารสถานศึกษา
โรงเรียนขยายโอกาส
Developing Information Technology Competence in the Digital Age
School Administrators
Educational Opportunity Expansion Schools
Issue Date:  31
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: This mixed methods research aimed to study the level of information technology competence, and guidelines for developing the information technology competence in the digital age of administrators of educational opportunity expansion schools. The study was divided into two phases. The population for Phase 1 was 40 administrators and teachers from 20 educational opportunity expansion schools under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 1. The informants for Phase 2, consisted of 8 people, including Director of Policy and Planning, Director of Supervision, Monitoring and Evaluation, school administrators, teachers and academics, who were obtained by the purposive sampling method. The research instruments were a questionnaire and an interview. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results showed that overall, the school administrators’ IT competence in the digital age was at a high level. The guidelines for developing the school administrators’ IT competence comprised of 4 aspects as follows. In terms of Vision, the school administrators should be knowledgeable, think outside the box, take a goal-oriented direction, and apply information technology in all aspects of administration. As for Strategy, they should be able to undertake feasibility budgeting. For Information Technology, they should be competent to allocate personnel, promote participation, establish a learning network via information technology system, designate an operations committee, follow up and evaluate. In terms of Potential for Change, they should be good role models in using information technology, develop online internal supervision, facilitate educational staff, and adopt implications derived from supervision for improving administrative quality. With regard to Teaching and Assigning Tasks, they should promote skill development activities, motivate students to create innovative works, provide a platform for competition, and allow all sectors to have access to information technology
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระยะที่ 1 ประชากร คือ ผู้บริหาร และครู โรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 จาก 20 โรงเรียน จำนวน 40 คน ระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักวิชาการ จำนวน 8 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  ระดับสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหาร ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ กล้าคิดนอกกรอบ กำหนดทิศทางให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานทุกด้าน ด้านกลยุทธ์ สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบความคุ้มค่างบประมาณในการลงทุน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดสรรบุคลากร ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงาน ติดตาม และประเมินผล ด้านศักยภาพ เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาการนิเทศภายในแบบออนไลน์ อำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทางการศึกษา นำผลการนิเทศสู่การปรับปรุงคุณภาพการบริหาร และด้านการสอนงานและมอบหมายงาน ควรส่งเสริม จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสร้างผลงาน นวัตกรรม จัดหาเวทีในการแข่งขัน และทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ 
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/122
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63551140207.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.