Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/121
Title: Guidelines for Project Management"Moderate Class More Knowledge" Active Learning Modelof School Administrators in School Group 6 Naresuanunder The Phitsanulok Primary Educational Service AreaOffice 1
แนวทางการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้รูปแบบ Active Learning ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
Authors: Tipha Pumma
ทิพา พุมมา
Chatphum Sichomphoo
ชัชภูมิ สีชมภู
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: แนวทาง
การบริหารงาน
โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบ Active Learning
Management Guidelines
Moderate Class More Knowledge
Active Learning
Issue Date:  8
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: This research aimed to study management conditions and management guidelines on Moderate Class, More Knowledge Project based on active learning management for the school administrators in the 6th school group, Naresuan, under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 1. The population used in the study comprised 2 parties, one of 110school administrators, head teachers of academic department, and teachers teaching in the 6th School Group, Naresuan, along with the other party of 4 experts. The tools used in the research were a questionnaire and an interview form. The statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The results showed that overall, the level of the management conditions of Moderate Class, More Knowledge Project based on active learning management of the school administrators in the 6th school group, Naresuan, was at a high level. For the project management guidelines, there were six aspects as follows: Policy driving aspect: school administrators should nurture knowledge, understanding, and focus on participation in policy analysis, team delegation, planning, and setting achievement goals for school administrators. In the aspect of promotion and support for teachers to develop teaching materials and innovations: school administrators should allocate the budget while promoting and supporting the development of teachers in creating teaching materials and innovations. Coordinating and seeking learning resources aspect: school administrators should propel coordination and register community wisdom learning resources from local sages. Supervising, guiding, and monitoring aspect: school administrators should work with multiple partners to provide school supervision, clarification meetings, combined with creating objective-oriented supervision criteria, drawing conclusions, and clarifying problems encountered. Project performance reflection aspect: school administrators together with teachers and other stakeholders should systematically reflect the performance of the project implementation; as well as should analyze strengths, weaknesses, obstacles, and solutions. And the aspect of making result-based improvement: school administrators should introduce a policy to promote the recording of the project performance which would be used in project development and included in further schools’ annual action plans.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารและแนวทางการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าครูวิชาการ และครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร จำนวน 110 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับสภาพการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนที่ 6 นเรศวร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับแนวทางการบริหารงานโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  มี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการขับเคลื่อนนโยบาย ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเน้นการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์นโยบาย แต่งตั้งคณะทำงาน วางแผน กำหนดเป้าหมายความสำเร็จให้กับกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนา สื่อ นวัตกรรม ควรจัดสรรงบประมาณ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรครู ด้านนวัตกรรม จัดทำโครงการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม ด้านการประสานงานและแสวงหาแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษา ควรขับเคลื่อนประสานงานจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้าน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ควรทำงานร่วมกับหลายฝ่ายในการนิเทศ ประชุมชี้แจง สร้างเกณฑ์การนิเทศให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สรุปผลและชี้แจงปัญหาที่พบ ด้านการสะท้อนผลการดำเนินงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรร่วมกับคณะครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสะท้อนผลการดำเนินการอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข และด้านการนำผลไปใช้ในการปรับปรุง ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้นโยบายในการส่งเสริมการบันทึกผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาโครงการ และบรรจุในแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาต่อไป
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/121
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63551140204.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.