Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/119
Title:  Research Synthesis on Conflict Management of School Administrators.
การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา
Authors: Jiraporn Pheryporn
จิราพร เผยพร
Vajee Panyasai
วจี ปัญญาใส
Uttaradit Rajabhat University. faculty of Education
Keywords: การสังเคราะห์งานวิจัย
การบริหารความขัดแย้ง
ผู้บริหารสถานศึกษา
Research synthesis
Conflict management
School administrators
Issue Date:  8
Publisher: Uttaradit Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research were to present the synthesized results on conflict management of school administrators, and to suggest guidelines for the implementation of conflict management. The data of 70 researches on conflict management of school administrators, which were evaluated at a high or higher level of quality and published in the TDC (ThaiLis) database during 2010 – 2020, were studied. The key informants for an interview were 6 school administrators who had experience of managing conflict in successful schools and were accepted by the personnel of the schools. The instruments used were a research quality evaluation form, research summary form, and an interview. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, and content analysis. The results revealed that the school administrators used 10 styles of conflict management: compromising, avoiding, collaborating, accommodating, competing, confronting, negotiating, forcing, power demonstrating, and smoothing. The school administrators used the highest degree of the compromising style. Avoiding, collaborating, and accommodating conflict handling styles were also used respectively. The smoothing style was used at the least degree. The guidelines which school administrators should implement are to understand the nature of conflict; manage the conflict immediately; analyze the cause and impact of conflict; gather update and correct information to analyze and handle the problems; select the appropriate conflict management style to use; and create an organizational culture in which personnel love working together in harmony, and understanding each other.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอผลการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา และเสนอแนะแนวทางในการนำความรู้เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งไปใช้ โดยศึกษาจากงานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการเผยแพร่ผ่านฐานข้อมูล TDC (Thailis) ในช่วงปี พ.ศ.2553 – 2563 ที่มีผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยอยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 70 เรื่อง และผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จและได้รับการยอมรับจากบุคลากรในสถานศึกษาจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบสรุปงานวิจัย และการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา มี 10 แบบ ดังนี้ การบริหาร ความขัดแย้งแบบประนีประนอม การบริหารความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง  การบริหารความขัดแย้งแบบร่วมมือ การบริหารความขัดแย้งแบบยอมให้ การบริหารความขัดแย้งแบบเอาชนะ การบริหารความขัดแย้งแบบเผชิญหน้า การบริหารความขัดแย้งแบบไกล่เกลี่ย การบริหารความขัดแย้งแบบบังคับ การบริหารความขัดแย้งแบบใช้อำนาจ และการบริหารความขัดแย้งแบบกลบเกลื่อน โดยผู้บริหารสถานศึกษาใช้วิธีการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาแบบประนีประนอมมากที่สุด รองลงมา คือ แบบหลีกเลี่ยง แบบร่วมมือ และแบบยอมให้  และน้อยที่สุด คือ แบบกลบเกลื่อน แนวทางที่ผู้บริหารสถานศึกษานำความรู้เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งไปใช้ คือ  มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของความขัดแย้ง การบริหารจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นทันที ไม่ปล่อยให้ปัญหามีความยืดเยื้อ การวิเคราะห์หาสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบและมีข้อดีข้อเสียอย่างไร การรวบรวมข้อมูลที่มีทันสมัยและถูกต้องในการวินิจฉัยปัญหา การเลือกใช้วิธีการบริหารความขัดแย้งให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความรัก ความสามัคคี มีความเข้าใจกัน
Description: Master of Education Program
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://202.29.52.112/dspace/handle/123456789/119
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63551140202.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.